คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับผลงาน การประมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับ EV
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับผลงาน การประมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับ EV จากข้อมูลการเดินทาง (Electrical Power Demand for EVs from travel data)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ขอแสดงความยินดีกับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงาน การประมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับ EV จากข้อมูลการเดินทาง (Electrical Power Demand for EVs from travel data) จากทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เข้าร่วมประกวดในรายการ IEEE PES 5-minute student project pitch (5MSPP) competition 2023
ทีมพัฒนา
นางสาวธารทิพย์ ปัญญาใส ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายจักริน ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปัจจุบันการเติบโตอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้าจะทำให้มีการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายในที่พักอาศัยจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการให้บริการและเสถียรภาพของเครือข่ายไฟฟ้า นางสาวธารทิพย์ ปัญญาใสและนายจักริน ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ได้เล็งเห็นว่า การไฟฟ้ายังไม่มีเครื่องมือประเมินภาระโหลดที่จะเพิ่มขึ้นจากการอัดประจุของ EV Charger โดยใช้ข้อมูลจากการเดินทางซึ่งจะสามารถเห็นภาระของโหลดที่เพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจนและเป็นข้อมูลจริง ภายใต้การให้คําปรึกษาของ ผศ.ดร.ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ การประมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับ EV จากข้อมูลการเดินทางใช้เครื่องมือ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ Google Maps API ที่ใช้ในส่วนของ Directions API สำหรับสืบค้นข้อมูลของการเดินทาง ทำให้ทราบถึงข้อมูลระยะทางและ เวลาที่ใช้ในแต่ละช่วงของการเดินทาง ชุดข้อมูลการจำลองการใช้พลังงานทั้งในส่วนของระบบขับเคลื่อนและระบบปรับอากาศจากโปรแกรม Automotive Simulation Models (ASM) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์บริษัท P.G.Intergroup Co.,Ltd. และชุดข้อมูลลักษณะการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าจาก PEAOC ได้ส่งเข้าร่วมกิจกรรม IEEE PES 5-minute student project pitch (5MSPP) competition 2023 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 12A อาคารวัฒนวิภาส อาคาร B การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่คลองเตย กรุงเทพมหานคร ผลงานนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เป็นเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท จาก 5 โครงงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยการตัดสินในรอบสุดท้ายจากคณะกรรมการจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัทชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไทยแลนด์
การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่คลองเตย กรุงเทพมหานคร
เรื่องถัดไป: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TSE ขอแสดงความยินดีกับ
เรื่องก่อน: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. จัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566