ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พัฒนาการเรียนการสอนและงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมโยธา จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้พิจารณาว่าการผลิตบุคลากรที่มีทักษะทางการวิจัย และเทคโนโลยีจะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากาลังคนและกิจกรรมงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจะเป็นพื้นฐานสาคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยนอกจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว นักศึกษาหรือนักวิจัยยังสามารถทาความร่วมมือทางการวิจัยกับหน่วยงานวิจัยของภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จานวนมากที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง สิ่งแวดล้อม 9 ทางวิชาการเหล่านี้จะเกื้อหนุนให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกสามารถพัฒนาความรู้เชิงวิชาการและวิจัยเข้าสู่ระดับสากล โดยที่ในขณะเดียวกันยังสามารถนาองค์ความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศที่ต้องการเทคโนโลยีในระดับสูงได้จริง
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกร
2. นักวิชาการ
3. ที่ปรึกษาโครงการ
4. ผู้บริหารโครงการ
5. นักวิจัย
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ เป็นหลักสูตรที่มีองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เช่น แพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ เป็นต้น ผู้ที่จบปริญญาจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้คู่คุณธรรม มีประสบการณ์การทาวิจัยและพัฒนาระดับสากล และมองประเด็นปัญหาอย่างบูรณาการ รวมทั้งสามารถนาความรู้ที่ได้ไปพัฒนาในและต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาและผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การพัฒนาและสร้างอวัยวะเทียม การช่วยบาบัดรักษาโรคที่มีความยากและมีความสาคัญมากขึ้นทุกวัน อันจะนาไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพของมนุษย์
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกร ซึ่งแบ่งได้เป็น วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบารุง วิศวกรด้านการออกแบบ วิศวกร
ขายอุปกรณ์ / เครื่องจักร
2. นักวิจัย
3. นักวิชาการ
4. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
5. นักเขียนโปรแกรม
6. นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมทางการแพทย์